ข้ามไปเนื้อหา

อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
CBE
เฟอร์กูสันในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม Alexander Chapman Ferguson
วันเกิด (1941-12-31) 31 ธันวาคม ค.ศ. 1941 (83 ปี)
สถานที่เกิด กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรเยาวชน
Harmony Row Boys Club
ดรัมแชเปิล มือสมัครเล่น
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1957–1960 ควีนส์พาร์ก 31 (15)
1960–1964 เซนต์จอห์นสโตน 107 (19)
1964–1967 ดันเฟิร์มลีนแอธเลติก 89 (66)
1967–1969 เรนเจอร์ส 41 (25)
1969–1973 ฟัลเคิร์ก 95 (37)
1973–1974 อายร์ยูไนเต็ด 24 (9)
รวม 317 (171)
ทีมชาติ
1960 สกอตแลนด์ มือสมัครเล่น[1] 1 (1)
1967 สกอตแลนด์[2][3] 4 (3)
1967 สกอตติชฟุตบอลลีก 11[4] 2 (1)
จัดการทีม
1974 อีสต์สตริลิงชีร์
1974–1978 เซนต์มิร์เริน
1978–1986 แอเบอร์ดีน
1985–1986 สกอตแลนด์
1986–2013 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

เซอร์ อเล็กซานเดอร์ “อเล็กซ์” แชปแมน เฟอร์กูสัน (อังกฤษ: Sir Alexander “Alex” Chapman Ferguson; เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1941) เป็นอดีตผู้จัดการทีมและผู้เล่นฟุตบอลชาวสกอต เป็นที่รู้จักจากการบริหารแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดใน ค.ศ. 1986 ถึง 2013 เขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในผู้จัดการทีมฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[5][6][7][8] และได้รับถ้วยรางวัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอล[9][10] เขายังมีชื่อเสียงจากการการพัฒนาศักยภาพ และการให้โอกาสผู้เล่นดาวรุ่งหลายราย โดยเฉพาะในทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ลูกนกหัดบินของเฟอร์กี ก่อนที่ทีมชุดนั้นจะประสบความสำเร็จคว้าถ้วยรางวัลหลายรายการ

เฟอร์กูสันเคยเล่นเป็นกองหน้าให้กับหลายสโมสร เช่น ดันเฟิร์มลีนแอธเลติกและเรนเจอร์ส ตอนที่เล่นให้กับดันเฟิร์มลีน เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในลีกสกอตฤดูกาล 1965–66 เขาเคยทำหน้าที่โค้ชก่อนที่จะหยุดเล่น หลังจากนั้นจึงทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมอีสต์สตริลิงชีร์และเซนต์มิร์เริน เฟอร์กูสันประสบความสำเร็จจากเป็นผู้จัดการทีมแอเบอร์ดีน โดยทำให้ทีมชนะสกอตติชลีกแชมเปียนชิปสามสมัย สกอตติชคัพสี่สมัย และยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพใน ค.ศ. 1983 เขาเคยบริหารทีมชาติสกอตแลนด์หลังจ็อก สไตน์เสียชีวิต โดยนำทีมเข้าสู่ฟุตบอลโลก 1986

เฟอร์กูสันเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1986 ในช่วงที่เขาบริหารทั้งหมด 26 ปี ได้รับถ้วยรางวัล 38 ใบซึ่งรวมถึงพรีเมียร์ลีก 13 สมัย เอฟเอคัพ 5 สมัย และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2 สมัย[11] เขาได้รับยศอัศวินในงานพระราชทานยศเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระราชินีนาถประจำปี 1999 (1999 Queen's Birthday Honours)[12] เฟอร์กูสันเป็นผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดทำลายสถิติของเซอร์ แมตต์ บัสบี ในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2010 เขาประกาศยุติการทำหน้าที่ผู้จัดการทีมหลังจบฤดูกาล 2012-13 และคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ในฤดูกาลสุดท้าย

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

อเล็กซานเดอร์ แชปแมน เฟอร์กูสัน[13] ถือกำเนิดในบ้านของคุณย่า/ยายที่ถนนชีลด์ฮอลล์ในอำเภอโกแวน กลาสโกว์ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เป็นบุตรของเอลิซาเบธ (สกุลเดิม ฮาร์ดี) กับอเล็กซานเดอร์ บีตัน เฟอร์กูสัน พ่อของเขาเป็นผู้ช่วยพิมพ์ในอุตสาหกรรมต่อเรือ[14] เขาเติบโตในตึกแถวที่ 667 ถนนโกแวน ซึ่งปัจจุบันถูกรื้อทำลายแล้ว โดยอาศัยร่วมกับพ่อแม่และมาร์ติน น้องชายของเขาที่กลายเป็นนักฟุตบอลด้วย[15] เขาเข้าศึกษาที่โรงเรียนประถมถนนบรูมโลนและภายหลังเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมศึกษาโกแวน[16] เขาเริ่มอาชีพฟุตบอลในทีม Harmony Row Boys Club ที่โกแวน[17][18] ก่อนไปต่อที่ดรัมแชเปิล มือสมัครเล่น สโมสรเยาวชนที่มีชื่อเสียงอย่างมากจากการผลิตนักฟุตบอลอาวุโส[19] เขายังเป็นลูกมือฝึกหัดในด้านอาชีพช่างทำเครื่องมือในโรงงานที่ฮิลลิงตัน แล้วได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่บริการร้านสหภาพ[17]

เกียรติประวัติ

[แก้]

ผู้จัดการทีม

[แก้]
เซนต์มิร์เริน
อาเบอร์ดีน
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[20]
ส่วนตัว

สถิติอาชีพ

[แก้]

ในฐานะผู้เล่น

[แก้]
การปรากฏตัวและเข้าประตูตามทีม ฤดูกาล และการแข่งขัน
ทีม ฤดูกาล ลีก คัพ ลีกคัพ ยุโรป รวม
ปรากฏตัว เข้าประตู ปรากฏตัว เข้าประตู ปรากฏตัว เข้าประตู ปรากฏตัว เข้าประตู ปรากฏตัว เข้าประตู
ควีนส์พาร์ก[21][22]
1958–59 8 4 8 4
1959–60 23 11 23 11
รวม 31 15 31 15
เซนต์จอห์นสโตน[22] 1960–61
1961–62
1962–63
1963–64
รวม 37 19
ดันเฟิร์มลีนแอธเลติก[22] 1964–65
1965–66
1966–67
รวม 89 66
เรนเจอร์ส[23] 1967–68 29 19 5 0 6 2 6 3 46 24
1968–69 12 6 1 0 4 2 3 3 20 11
รวม 41 25 6 0 10 4 9 6 66 35
ฟัลเคิร์ก 1969–70[24] 21 15 3 3
1970–71[25] 28 13 0 0
1971–72[26] 28 9 2 1 9 4 39 14
1972–73[27] 18 0 2 1 0 0 20 1
รวม 95 37 7 5
อายร์ยูไนเต็ด 1973–74[28] 24 9 4 1 0 0 28 10
รวม 24 9 4 1 0 0 28 10
รวมในอาชีพ 317 171 6 0

ในฐานะผู้จัดการ

[แก้]
สถิติการจัดการต่อทีมและระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
ทีม ตั้งแต่ ถึง สถิติ Ref
ลงแข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ชนะ %
อีสต์สตริลิงชีร์ มิถุนายน 1974 ตุลาคม 1974 17 9 2 6 052.9 [29]
เซนต์มิร์เริน ตุลาคม 1974 พฤษภาคม 1978 169 74 41 54 043.8 [29]
แอเบอร์ดีน มิถุนายน 1978 6 พฤศจิกายน 1986 459 272 105 82 059.3 [29][30]
สกอตแลนด์ 1 ตุลาคม 1985 30 มิถุนายน 1986 10 3 4 3 030.0 [31]
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 6 พฤศจิกายน 1986 19 พฤษภาคม 2013 1,500 895 338 267 059.7 [32]
รวม 2,155 1,253 490 412 058.1

ผลงานตีพิมพ์

[แก้]
  • Ferguson, Alex; Meek, David (1992). Alex Ferguson: 6 Years at United. Mainstream. ISBN 978-1851584444.
  • Ferguson, Alex; Fitton, Peter (1993). Just Champion!. Manchester United Football Club. ISBN 978-0952050919.
  • Ferguson, Alex; Ball, Peter (1995). A Year in the Life: The Manager's Diary. Manchester United Football Club. ISBN 978-1852275211.
  • Ferguson, Alex; Meek, David (1997). A Will to Win: The Manager's Diary. Andre Deutsch. ISBN 978-0233993683.
  • Ferguson, Alex (2000). The Unique Treble. Hodder & Stoughton. ISBN 978-0340792612.
  • Ferguson, Alex (2000). Managing My Life: The Autobiography. Coronet Books. ISBN 0-340-72856-6.
  • Ferguson, Alex (2013). My Autobiography. Hodder & Stoughton Ltd. ISBN 978-0-340-91939-2. The motto of the Ferguson clan in Scotland is: ‘Dulcius ex asperis’ or, ‘Sweeter after difficulties’. That optimism served me well through 39 years of football management.
  • Ferguson, Alex; Moritz, Michael (2015). Leading: Lessons in leadership from the legendary Manchester United manager. Hachette UK. ISBN 978-1473621169.

อ้างอิง

[แก้]
  1. McColl, Brian; Gorman, Douglas; Campbell, George. "FORGOTTEN GLORIES – British Amateur Internationals 1901–1974" (PDF). p. 318. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
  2. Bell, Stephen; Zlotkowski, Andre (6 June 2008). "Scotland XI Tour of Asia and Oceania 1967". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
  3. "Former Scotland players to be recognised with international caps including Sir Alex Ferguson". www.scottishfa.co.uk. Scottish Football Association. 9 October 2021. สืบค้นเมื่อ 10 October 2021.
  4. "Alex Ferguson". London Hearts Supporters' Club. สืบค้นเมื่อ 5 December 2011.
  5. Hoye, Russell; Smith, Aaron; Nicholson, Matthew; Westerbeek, Hans; Stewart, Bob (2009). Sport Management, Volume 1, Second Edition: Principles and applications. Elsevier. p. 168. ISBN 978-0-7506-8755-3.
  6. Hunter, James (24 December 2010). "Steve Bruce: Sir Alex is the best manager ever". Newcastle Chronicle. สืบค้นเมื่อ 18 October 2015.
  7. Hayward, Paul (5 November 2011). "Sir Alex Ferguson's adaptability has made him the greatest of all time". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 9 November 2015.
  8. Macintosh, Iain (9 August 2013). "Greatest Managers, No. 1: Ferguson". espnfc.us. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 9 November 2015.
  9. Rubio, Alberto; Clancy, Conor (23 May 2019). "Guardiola on his way to becoming the most successful coach of all time". Marca.
  10. Smith, Matt (14 May 2019). "The 7 Managers That Have Won All 3 Domestic Trophies in England". 90min.com. สืบค้นเมื่อ 30 September 2019.
  11. "Sir Alex Ferguson to retire as Manchester United manager". BBC Sport. 8 May 2013. สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
  12. "Sir Alex's crowning glory". BBC News. 20 July 1999. สืบค้นเมื่อ 6 November 2012.
  13. "Sir Alexander Chapman Ferguson". mufcinfo.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  14. Barratt, Nick (5 May 2007). "Family detective". The Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2008. สืบค้นเมื่อ 30 October 2009.
  15. Barratt, Nick (5 November 2010). "Alex Ferguson profile". Soccer-Magazine.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2011. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  16. "Glasgow Caledonian University, Research Collections, Archives". TheGlasgowStory.com. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  17. 17.0 17.1 "All we ever did in Govan was play football and fight...it was a great upbringing, says Sir Alex Ferguson". Daily Record. 9 May 2013. สืบค้นเมื่อ 29 August 2019.
  18. "Sir Alex Ferguson shares his childhood memories of Harmony Row and tells how black ash burns made him the man he is". Daily Record. 19 March 2015. สืบค้นเมื่อ 29 August 2019.
  19. "Sir Alex Ferguson tribute to Drumchapel Amateurs' legend". Evening Times. Glasgow. 20 February 2014. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
  20. "Sir Alex Ferguson Trophies". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
  21. "Ferguson, Alexander Chapman". QPFC.com – A Historical Queen's Park FC Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-13. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  22. 22.0 22.1 22.2 "Alex Ferguson". Post War English & Scottish Football League A - Z Player's Transfer Database. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
  23. "Rangers Player Alex Ferguson Details". fitbastats.com.
  24. Rothmans Football Yearbook 1970–71, pp. 724, 740–741. Queen Anne Press, London.
  25. Rothmans Football Yearbook 1971–72, pp. 563, 537. Queen Anne Press, London.
  26. Rothmans Football Yearbook 1972–73, pp. 648–649, 683–684, 688. Queen Anne Press, London.
  27. Rothmans Football Yearbook 1973–74, pp. 572–573, 626–628. Queen Anne Press, London.
  28. Rothmans Football Yearbook 1974–75, pp. 570–571, 642–644. Queen Anne Press, London.
  29. 29.0 29.1 29.2 Bartram, Steve; Bostock, Adam (20 October 2010). "Boss greets landmark game". Manchester United F.C. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
  30. Inwood, Benji (4 November 2011). "Timeline: Sir Alex Ferguson's 25 years at Manchester United". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
  31. "History archives: Managers: Alex Ferguson". Scottish Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2017. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
  32. "Managers: Alex Ferguson". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.

หนังสือ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]